ฤษีดัดตนและการนวดแผนไทย ดร.อุทัย สินธุสาร - สุวรรณี ณ ระนอง เรียบเรียง
ฤษีดัดตน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำรายา ตำรานวด และปั้นฤษีดัดตน (ด้วยดิน) มีมาแต่โบราณไว้ตามศาลาราย จารึกบนแผ่นหินติดไว้ใกล้รูปฤษี บอกให้รู้ว่าแต่ละท่าของฤษีแก้โรคใด ความว่า “...ทำศาลารายห้าห้อง เจ็ดห้อง เก้าห้อง เป็นสิบเจ็ดศาลา เขียนเรื่องพระชาดกห้าร้อยสิบพระชาติ ตั้งตำรายาและฤๅษีดัดตนไว้เป็นทาน....” นับว่าเป็นการริเริ่มรวบรวมตำรายาสาธารณะครั้งแรกในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงถือว่า วัดโพธิ์เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของชาติ ฤษี คือ นักบวช หรือ นักพรต ผู้บำเพ็ญตบะในศาสนาพราหมณ์เป็นผู้ละบ้านเรือน อาศัยอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร นุ่งห่มด้วยหนังเสือ ปัจจุบันมีอยู่ในประเทศอินเดีย การบำเพ็ญตบะกำหนดร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เมื่อออกจากตบะ เกิดอาการปวดเมื่อย จึงผ่อนคลายเส้นและลมในร่างกายด้วยการดัดตน คนไทยนำท่า “ฤษีดัดตน” มาประยุกต์บำบัดอาการปวดเมื่อยร่างกาย ที่เกิดจากเส้นเอ็นและลมในร่างกายแปรปรวน เป็นการรับวัฒนธรรม “ดัดตน” จากพราหมณ์ไว้เพียงอย่างเดียว ไม่นิยมบำเพ็ญตบะ จึงเกิดตำรา “ฤษีดัดตน” ขึ้น ดังปรากฏมี “กรมนวด” รักษาโรคต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงปฏิสังขรณ์วัดราชโอรส ได้จารึกตำรายา ตำราหมอนวด และตำราวางปลิง ในแผ่นหินติดไว้ตามกำแพงแก้วเสาพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เพื่อเป็นทานอีกเช่นกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ในพุทธศักราช ๒๓๗๔ มีพระราชประสงค์พิเศษให้วัดโพธิ์เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน ไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โปรดเกล้าฯ ให้เลือกสรรตำรามาตรวจแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง ประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง แล้วโปรดให้จารึกไว้บนแผ่นศิลาประดับไว้ตามผนังและศาลารายในบริเวณวัดโพธิ์ มีภาพเขียนและรูปปั้น ซึ่งรวบรวมทั้งวรรณคดี ศาสตราคม ตำรายา ตำราหมอนวด พร้อมรูป ๓๐ คู่ วิชาเภสัชสมุนไพร รูปปั้นท่าฤษีดัดตนเพื่อกายภาพบำบัด ๘๐ ท่า
แผ่นศิลาจารึกตำรายา รูปปั้นฤษีดัดตน
รูปฤษีดัดตนที่ปั้นด้วยดินแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ชำรุดหักพังลง โปรดให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ กำกับกรมช่างหล่อ หล่อขึ้นใหม่ด้วยสังกะสีผสมดีบุก (ชิน) จำนวน ๘๐ ท่า จารึกเป็นคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นภาคต้น มีนักปราชญ์ราชกวี ร่วมกัน ๓๕ คน ร่วมกันแต่งแต่ละท่า นอกจากรูปปั้นแล้ว โปรดฯ ให้เขียนเป็นภาพเขียนระบายสีลงในสมุดไทยดำ และสมุดไทยขาว และนำไปไว้ยังพระอารามสำคัญทั้งในกรุงเทพมหานครและพระอารามสำคัญในหัวเมือง วิชาการแพทย์และกายภาพได้ขยายกว้างขวางขึ้นเพราะพระราชหฤทัยจะให้เป็นประโยชน์แก่ชาวเมือง เพื่อให้ชาวเมืองรู้จักดูแลสุขภาพร่างกายเป็นผู้มีพละกำลังแข็งแรง ปราศจากโรคภัย เป็นน้ำพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ไทยที่มีราษฎร์ของพระองค์ ต่อมารูปปั้นฤษีดัดตนถูกนำมารวมไว้ที่เขาฤๅษีดัดตน เป็นสวนสุขภาพใกล้กับพระวิหารทิศใต้ มีเหลืออยู่ ๒๔ ท่า (๒๕ ตน) แผ่นจารึกยังคงอยู่ที่ศาลารายและศาลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ
(รูปฤษีดัดตน ๘๐ ท่า) ฤษีดัดตน ๘๐ ท่า
๑. แก้เกียจ (เมื่อยขบ) - ฤษีกามันตะกี ๒. แก้เอวขดขัดขา - ฤษีสังปติเหงะ เหยียดยืดหัตถ์ดัดได้ แต่แก้ เกียจกาย ถวัดเท้าท่ามวยเตะ ตึงเมื่อย หายฮา
๓. แก้ลมในอกในเอว – ฤษีอายัน ๔. แก้ขัดเอว - ฤษีวัจนัข แอ่นอกเอี้ยวเอวสยิ้ว แสยะหน้า เงยหงาย เก็งข้อกดตะคากเข้า ศอกคู้ ขมึงทึง
๕. แก้ลมปวดศีรษะ - ฤษีมโนช ๖. แก้ซ่นเท้าขัด - ฤษีอิษีสุขวัฒน์ นั่งดัดหัตถ์ขวาซ้าย นบเกล้า บริกรรม เอนกายกรกดเท้า พักตร์เหิน หาวแฮ
๗. แก้ปวดท้องขัดข้อเท้า - ฤษีอัจนะคาวี ๘. แก้เสมหะในลำคอ - ฤษียุทธ พับชงฆ์เทิดถวัดกร สองไปล่ หลังนา นั่งสมาธิหัตถ์สัประยุทธ เศียรอีก แข้งนา
๙. แก้ลมในแขน - ฤษียาคะ ๑๐. แก้สะบักหน้าจม - ฤษีวตันตะ เหยียดหัตถ์ดัดนิ้วนั่ง ชันเพลา แหงนหน้าท่าเรอหาว ยืดดัด หลังเอย
๑๑. แก้ลมทั่วสรรพางค์ - ฤษีเสลข ๑๒. แก้เข่าขาตาย - ฤษีวชิร องค์แอ่นแหงนพักตร์ขบ เขม่นฟ้า เท้าหัตถ์ชันเข่าคู้ ท่าแม้น ละม้ายสิงห์
๑๓. แก้ขัดขาขัดคอ - ฤษีโรมะสิงห์ ๑๔. แก้แน่นหน้าอกและท้อง - ฤษีโคดม มือประทับกับเพลาหมาย มุ่งฟ้า แหงนหน้าท่าเรอหาว ยืนดัด หลังเอย
๑๕. แก้ลมเวียนศีรษะ - ฤษีธหะ ๑๖. แก้ขาและเข่าเคล็ด - ฤษีอิสีสิงค์ สมาธิขัดหัตถ์ยุดทั้ง เพลาเศียร ยืนย่อบาทบิดคั้น เข่าทั้ง โคนขา
๑๗. แก้โรคในอก - ฤษีวรเชษฐ ๑๘. แก้ตะคริวมือเท้า - ฤษีอัคนี ไสยาสน์เหยียดเขียดปาด ฉุดชัก ไว้แฮ ยืนแยกอย่างยักษ์โขน ออกเต้น กางกรกดสองโคน ขานิด เน้นนอ
๑๙. แก้ลมตะคริว - ฤษีสวามิตร ฤษีวสิทธิ ๒๐. แก้ลมทั่วสรรพางค์ - ฤษีอิสี วสิทธิเหยียบยันสลัก เพ็ชรเคล้น เท้าแขนพับเพียบทับ หัตถ์แอ่น องค์เอย กรขวาจับบาทชัก เฉวียงฉุด แขนแฮ
๒๑. แก้ลมเสียดอก - ฤษีนารท ๒๒. แก้ลมจันฑฆาฏ (ลมชัก) - ฤษีนารอท ยืนเหนี่ยวข้อเท้าเชิด หัตถ์เห็น ยากแฮ ฉวยเท้าท่ายืนหัน เหินเยี่ยง เหาะแฮ มือหนึ่งคั้นเข่าซ้าย เสื่อมสิ้น สี่ลม
๒๓. แก้เข่าขัด - ชลิฎดาบส ๒๔. ดำรงกายอายุยืน - ฤษีทิศภัย ยืนยกขาขวาทับ เข่าซ้าย กุมกดธารกรค้ำ พ่างพื้น ยืนยัน พนมหัตถ์ดัดกายกลับ เบือนบิด ตนแฮ ๒๕. แก้ลมปะกัง (มึนศีรษะ) - ฤษีกาลชฎิล ๒๖. แก้ปวดตะโพกสลักเพชร - ฤษีสุรภังค์ ไคล (คลาย) ขมับจับหนุ (คาง) นวดเน้น ถ่างบาตรทั้งสองทรง แย่แต้ กำหมัดดัดกรผจง กดคู่ ขานา ๒๗. แก้ลมชักปากเบี้ยว - ฤษีกาลสิทธิ ๒๘. แก้เข่าขัด - ฤษีมหาสุธรรม์ เหนี่ยวไหล่หน่วงเท้าเอี้ยว อกโอ้อนิจจัง เท้าเหยียดยืดหัตถ์ยัน ขยำเข่า สองนา
๒๙. แก้ลมลำลึงค์ (ปัสสาวะขัด)-ฤษีอัคตะ ๓๐. แก้มือเท้าขัด ลมคั่ง - ฤษีสุทัศน์ นั่งดัดหัตถ์สองผสาน พนมนิ่ง อยู่นา นั่งกระหย่งยุดเท้า หัตถ์ช้อย เช่นรำ ๓๑. แก้กล่อนปัตฆาฏ - ฤษีคาวินทร์ ๓๒. แก้ลมอัมพฤกษ์ - ฤษีโควินทร์ แยกขายืนท่าตั้ง ตนตรง ตั้งซ่นสองมือเข้า ประทับข้าง ขืนองค์ แขนแนบหนีบสะเอวองค์ แน่นแฟ้น กดเข่าเหนี่ยวแข้งให้ ซ่นเท้า มละลม นั่งหย่องสองมือจบ เจิดหน้า
๓๕. แก้ลมในขา -ฤษีกระไลยโกฏิ ๓๖. แก้เวียนศีรษะ - ฤษีสุธามันต์ นั่งหย่องสองหัตถ์คู้ ศอกแก้ ลมขา แบะขาคู้เข่าเข้า ซ่นเสมอ บิดไหล่หงายแขนเผยอ ยึดไว้ ๓๗. แก้ลิ้นกระด้าง - ฤษีภาระทวาชะ ๓๘. แก้กร่อนในทรวง - ฤษีวัชอัคนิศ คุกเข่าหัตถ์ไขว้ตรง อุระภาค ตนนา แยกขาแย่ย่อกาย สองหัตถ์ เท้าแฮ
๓๙. แก้ไหล่ตะโพกยอก - ฤษีชนก ๔๐. แก้เท้าเย็นใจสวิงสวาย - ฤษีกระบิล คู้เข่าศอกกดแข้ง หัตถ์เคล้น ไคลทรวง เท้าซ้ายไขว้เพลาขวา มือหน่วง เข่าเอย
๔๑. แก้ไหล่ขาชาเหน็บ – ฤษีสุกทันต์ ๔๒. แก้กล่อนปัตฆาฏ- ฤษีสัชนาไลย ยืนยึดเอวองค์เยื้อง ย่างเท้า ท่าหนัง สองหัตถ์ท่าทีทรงศรศาสตร์ ไปเอย
๔๓. แก้คอเคล็ดไหล่ขัด – ฤษีอัศวมุขี ๔๔. แก้คอไหล่ขัดเรื้อรัง–ฤษีอิสิงฆ์ ท่าอัดดัดเหลี่ยมแบน แบะเข่า ยืนดัดหัตถ์สองยุด กันกด เอวนา
๔๕. แก้ลมอัณฑวาต– ฤษีอะแหม่ ๔๖. แก้เสียดข้าง–ฤษีอมรเมศ คู่เข่าเท้าสองไขว้ หัตถ์เคล้น ไศลคอ ซ่นเหนี่ยวเกี่ยวไหล่ชะโลง ลมเบ่งเบาเฮย มือหนึ่งเหนี่ยวขาคู้ ขยาดถ้า ระอาทำ
๔๗. แก้ลมวิงเวียน – ฤษีสุเมธ ๔๘. แก้ลมมหาบาดทะยัก - ฤษีบรเมศร์ กระหย่งเท้าเข่าขัด เหลี่ยมถ้า นั่งสมาธิหัตถ์สองชัก ฉุดแข้ง ขาแฮ เอี้ยวองค์อีกสองหัตถ์ ไหว้เหวี่ยง อยู่เฮย อกแอ่นอืดอัดย้าย โยกเยื้องอินทรีย์
๔๙. แก้แขนขัด – ฤษีโคบุตร ๕๐. แก้ลมปัตฆาฏ - ฤษีจุลพรหม แขนใด่ขัดเท้าให้ หัตถ์บไข้ นวดแขน ยักเข่าเหยียดแขนอิสิศ เสือกเท้า
๕๑. แก้ลมในเท้า – ฤษีอัฐทิศ ๕๒. แก้ลมในคอ ปวดคอ – ฤษีกาญจนะ กรขวากดอกเอ เอี้ยงเหยียด ซ้ายเอย คู้เข่าขาก่อมก้อ หัตถ์เคล้น ไคลขา
๕๓. แก้ลมขา เมื่อยขา– ฤษีขุทธาลกะ ๕๔. แก้ลมลำลึงค์ – ฤษีอังคต มือหนึ่งนวดอกเน้น หนึ่งค้ำ คางแหงน นั่งสมาธินวดคอคั้น ขบเขี้ยว ตาขมึง
๕๕. แก้ลมแขน ปวดข้อมือ-ฤษีอนิตถิคนธ์ ๕๖. แก้ลมเสียดแน่นอก - ฤษีสัจพันธ์ กายชดชระดัดนิ้ว นบท่า เทพพนม ประจงสองหัตถ์ดัด ดันเข่า สองนา ๕๗. แก้เส้นมหาสนุกระงับ - ฤษีกามินทร์ ๕๘. แก้เท้าขัด - ฤษีมิคาชินทร์ มือหนึ่งเท้าเข่าขัด สมาธิคู้ เข่าหนึ่งชนมือเน้น นวดแข้ง ขยำคลำ ๕๙. แก้เส้นทั่วสรรพางค์ – ฤษีเวฏฐทีปกะ ๖๐. แก้ไหล่ตะโพกขัด - ฤษีอัลกัปปะ กรทอดระทวยดัด องค์อ่อน งามเอย เศียรหกหัตถ์จรดดิน ยืนหย่ง แย่นา ๖๑. แก้ลมเอว ปวดแน่นท้อง - ฤษีไชยาทิศ ๖๒. แก้ลมกร่อน -ฤษีสิทธิกรรฐ นั่งสมาธิถวัดวง กรเหวี่ยง เอวนา สิทธิกรรฐนั่งหน่วงเท้า ไขว้คอ เหยียดหัตถ์ดัดตนน้อม เหนี่ยวแก้สกลกาย ๖๓. แก้ลมมือเท้า – ฤษีพยาธิประลัย ๖๔. แก้ลมสลักไหล่ – ฤษีเพชรโองการ ชูหัตถ์หัตถ์หนึ่งไคล คลึงศอก ไซร้นา เท้าหนึ่งยกยันขา กดเส้น หัตถ์หนึ่งเหนี่ยวอังสา นิ้วรีด เส้นแฮ ๖๕. แก้ลมริดสีดวง - ฤษีนารอท ๖๖. แก้แน่นอก – ฤษีสัมมิทธิ ขาไขว้ไพล่ชงฆ์ขัด เข่าเข้ ยืนหยัดยกเท้างอ ไขว้ไว้ เหยียดกรอ่อนเอาหัตถ์ หนึ่งส่ง ศอกนา สองมือดัดคางคอ เขย่งยืด ตัวแฮ
๖๗. แก้กร่อนท้องเกร็ง - ฤษีวาสุเทพ ๖๘. แก้ลม จุกเสียด - พุทธชฏิล นักสิทธิสุพรหม ไขว้หัตถ์รัดอกองค์ สมาธิเพชร นั่งนา เหยียบยันจระโพกจับ ตีนเหนี่ยว นาพ่อ
๖๙. แก้ขาเมื่อย ตึงขา – ฤษีสุทธาวาศ ๗๐. แก้กล่อน – ฤษีธาระนี ยกเข่าคู้บาทไขว้ หัตถ์น้าว เหนี่ยวขา เท้าเหยียดมือหยิก ปลาย แม่เท้า
๗๑. แก้ปวดท้อง สะบักจม - ฤษียามหณุ ๗๒. แก้ลมในอก แน่นอก - ฤษีโสมะยาคะ
๗๓. แก้ตะโพกต้นขาขัด – ฤษีสมุท ๗๔. แก้เท้าเหน็บ – ฤษีมาฆะ ขาแยกยกเฉียดฉีก ครากแท้ มือยุดฝ่าเท้ายัน ยืนย่อ ตัวนา
๗๕. แก้ปัตฆาฏ เส้นขัด – ดาบสเทวบิฐ ๗๖. แก้จุกเสียด – ภรัตะดาบส ยืนดัดเศียรย่อเท้า ท่านแก้ กลหมอ นั่งคุกกดเข่าคู้ หัตถ์ค้ำ คางหงาย
๗๗. แก้แน่นไหล่ อก ท้อง-ฤษีกาละกุรักข์ ๗๘. แก้แขนขัด – ฤษีโสณะ กดผากกดท้ายเกศ บาทขัด คุกแฮ ยกศอกขึ้นเข่าจ้อง จรดซ้าย เปลี่ยนขวา
๗๙. แก้ขัดแข้งขา – โยฮัน ปริพพาชก ๘๐. แก้เส้นสลักทรวง – หลวงจีนหลีเจ๋ง นั่งดัดหัตถ์ถ่างเท้า ขัดแข้งขาหาย มือเหวี่ยงผวาท่างิ้ว ระงับเส้นสลักทรวง
การนวดแผนไทย การแพทย์แผนไทยวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้จัดทำตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ขึ้น มีวิชาหัตถศาสตร์ เรียกว่า “ตำราแบบนวดฉบับหลวง” ในปัจจุบัน ได้มีสมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) เปิดสอนการแพทย์แผนโบราณ และการนวดแผนโบราณ ที่ศาลารายด้านทิศตะวันออก มีชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้สนใจมาเรียนเป็นจำนวนมาก
ตำรานวด
การนวดแผนไทย ที่ปฏิบัติมีอยู่ ๒ วิธี คือ ๑. การนวดด้วยมือ ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่มีอาการปวดเมื่อยหรือเป็นสมุฏฐานของโรค มีท่าต่าง ๆ ตามรูปปั้นฤษีดัดตนเพื่อแก้อาการของโรค ผู้นวดต้องมีความรู้เกี่ยวกับเส้นเอ็นทั้งหลายในร่างกายด้วย ๒. การนวดแบบประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยมาแต่โบราณ สมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่เมื่อถูกความร้อนจะเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น ไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ มะกรูด การบูร เป็นวิธีบำบัดรักษาควบคู่กับการนวด โดยใช้ประคบหลังการนวดแล้ว จะทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวดและกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
การอบไอน้ำด้วยสมุนไพร ถือได้ว่า เป็นการบำบัดโรคอย่างหนึ่ง ซึ่งมีมาแต่โบราณแล้ว แม้ในพระไตรปิฎกก็กล่าวถึง “เรือนไฟ” สำหรับภิกษุ ผู้เดินทางรอนแรมมาไกล สตรีไทยแต่โบราณ ก็ใช้วิธีอบตัวด้วยความร้อน เพื่อบรรเทาโรคต่าง ๆ เช่น การอบตัวหลังคลอด เพื่อให้ผิวพรรณงดงาม โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ฯลฯ การอบตัวมี ๒ อย่าง คือ ๑. การอบแห้ง ปัจจุบันเรียก “เซาว์น่า” ใช้ความร้อนจากถ่านหินบนเตาอบตัว เช่นเดียวกับการอยู่ไฟของสตรีหลังคลอดบุตร ๒. การอบเปียก หรือ การเข้ากระโจม ปัจจุบันพัฒนาเป็นห้องอบไอน้ำสมุนไพร การนวดแผนไทยที่พัฒนามาจนเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน จนถึงขั้น Spa น่าจะได้พัฒนามาจากตำรานวดวัดโพธิ์ นับเป็นพระมหากรุณา และพระวิสัยทัศน์ยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้าที่ทรงให้ทำเป็น “โรงเรียน” ขึ้นไว้
|