ReadyPlanet.com
dot
เกี่ยวกับรัชกาลที่ 3
dot
bulletพระราชประวัติ ร.3
bulletพระราชกรณียกิจก่อนเสวยราชย์
bulletการเสด็จขึ้นครองราชย์
bulletพระราชกรณียกิจด้านการเมืองการปกครอง
bulletการพระศาสนา
bulletด้านเศรษฐกิจ
bulletรัชกาลที่ 3 กับเทคโนโลยีสารสนเทศ
bullet​การปราบฝิ่น  ในรัชกาลที่ 3
bulletเงินถุงแดง
bullet ​การค้าของไทยสมัยรัชกาลที่ 3
bulletมองเมืองไทยกับต่างประเทศ  สมัยรัชกาลที่ 3 โลกาภิวัตน์ยุคดั้งเดิม
bulletด้านการศึกษา
bulletด้านศิลปกรรม
bulletด้านวรรณคดี
bulletสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3
bulletตั้งเมืองในรัชสมัย
bulletทรงรักษาแผ่นดินเป็นเลิศ
bulletพระบรมราชานุสาวรีย์
bulletพระราชวิสัยทัศน์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า สร้างเอกลักษณ์ของชาติ
bulletฤษีดัดตนและการนวดแผนไทย
bulletประวัติศาสตร์หน้าเดียว พระราชกระแสก่อนสวรรคต ของ ร.3
bulletพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงมุ่งมั่นสู่พระโพธิญาณ
dot
ลิงค์แนะนำ
dot
รพ.พระนั่งเกล้า
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย




พระราชวิสัยทัศน์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า สร้างเอกลักษณ์ของชาติ

พระราชวิสัยทัศน์

ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

สร้างเอกลักษณ์ของชาติ

 

 

       วัดเป็นศูนย์กลางความผูกพันกับชีวิตจิตใจของคนไทย เป็นทั้งที่อบรมศีลธรรมจรรยาและสั่งสอนศิลปะวิทยาการ การสร้างและบำรุงวัด  จึงเสมือนสร้างโรงเรียนและบำรุงการศึกษาของประชาชนโดยตรง ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามจำนวนมาก

 

       ทรงพัฒนางานพุทธศิลปะ  และสร้างสรรค์ศิลปกรรมให้มีลักษณะคงทนถาวรด้วยการนำศิลปะจีนเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย  ทั้งด้านรูปลักษณ์และวัสดุก่อสร้าง  หากแต่ทรงเคร่งครัดความเป็นชาติไว้อย่างเด่นชัด  เกิดเป็นศิลปกรรมที่เรียกว่า  “แบบพระราชนิยม”  ขึ้นในรัชสมัย  จะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระมหาเจษฎาราชเจ้า ทรงสร้างทั้ง  โบสถ์  วิหาร  การเปรียญ  สิ่งตกแต่งสถานที่  และสิ่งแวดล้อม  จะยืนยงตกทอดมาถึงปัจจุบัน หลากหลายลักษณะ และประดิษฐาน ณ สถานที่สำคัญหลายแห่ง  โดยเฉพาะที่พระบรมมหาราชวัง

 

     ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะสร้างสิ่งแปลกที่หาดูได้ยาก โปรดเกล้าฯ สร้างขึ้นให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เช่น พระปรางค์วัดอรุณราชวรราม พระพุทธไสยาสน์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เรือสำเภาที่วัดยานนาวา โลหะปราสาท นอกจากพระราชศรัทธาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ทรงคาดหวังจะให้เป็นสถาปัตยกรรมพุทธศิลป์ที่วิจิตร อันจะเป็นพยานว่า แผ่นดินของพระองค์คือยุคทองแห่งศิลปกรรม

    ปัจจุบันพระบรมมหาราชวังของประเทศไทยนี้มีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลกในความงามของสถาปัตยกรรมไทย  เชิญชวนให้นักเที่ยวได้มาชม  จึงกล่าวได้ว่าศิลปกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า  เป็นศิลปะเพื่อการพระศาสนา อย่างไรก็ตาม ซึ่งแสดงคุณลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  สะท้อนพระราชวิสัยทัศน์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นนักพัฒนาได้อย่างชัดเจน

 

งานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ

พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม : สัญลักษณ์ของประเทศไทย

          วัดอรุณราชวราราม หรือ วัดแจ้ง เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เดิมชื่อ วัดมะกอก  สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  วัดนี้เป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชวังหลวง หรือพระราชวังเดิม สมัยกรุงธนบุรี และยังเคยประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  (พระแก้วมรกต) แม้ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ย้ายราชธานีมาสถาปนาเป็นกรุงเทพรัตนโกสินทร์ที่บริเวณฝั่งตรงข้ามแล้ว ก็ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ ก่อเสริมพระปรางค์วัดอรุณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงริเริ่มไว้ ซึ่งเดิมสูงเพียง ๘ วา ให้สูงถึง ๓๕ วา  เพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนคร  เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจึงเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญของกรุงเทพมหานครและประเทศไทย  เช่นเดียวกับหอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส หรือหอนาฬิกาบิ๊กเบนเป็นสัญลักษณ์ของกรุงลอนดอน  นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ  เมื่อเข้ามาถึงกรุงเทพฯแล้ว  ก็จะต้องไปเยี่ยมชมพระปรางค์สำคัญองค์นี้

ในหนังสือ “ในดินแดนแห่งพระอาทิตย์”  โดยเจ้าชายวิลเฮล์มแห่งสวีเดน  ได้กล่าวถึงความสำคัญของพระปรางค์ไว้ดังนี้

       “...พระปรางค์องค์มีลวดลายสลักเสลานี้ก่อรูปเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของเส้นขอบฟ้าของเมือง  ซึ่งหากขาดพระปรางค์องค์นี้เสียแล้ว  บางกอกก็จะหมดความเป็นบางกอกลงทันที  ด้วยความเป็นใหญ่อยู่เหนือทิวทัศน์เมืองดังที่ปรากฏอยู่นั้น  พระปรางค์องค์นี้เป็นตัวแทนที่ได้พบเห็นบ่อยครั้งที่สุดในภาพเขียนและภาพถ่ายของสยามประเทศ...”

       นอกจากนั้น นายคาร์ล  เดอริงก์  สถาปนิกชาวเยอรมัน  ผู้อุทิศตนให้แก่การศึกษาสถาปัตยกรรมไทยอย่างละเอียดและได้ออกแบบพระราชวังที่เมืองเพชรบุรีถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตลอดจนวังและตำหนักอื่น ๆ ได้พรรณนาไว้ในบทความเรื่อง  “สถาปัตยกรรมสยาม”  เกี่ยวกับพระปรางค์วัดอรุณฯ ดังนี้

     “...ในหมู่พระปรางค์ด้วยกัน  ปรางค์วัด “พระแจ้ง” (วัดอรุณ) มีความเด่นสง่างดงามที่สุด  นับเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกรุงเทพฯ ทีเดียว  ในหนังสือนำท่องเที่ยวประเทศสยามทุกเล่ม  จะมีบทพรรณนาถึงความวิจิตรพิสดารของ           พระปรางค์องค์นี้เป็นพิเศษ....”

     พระปรางค์องค์สำคัญนี้ สร้างขึ้นบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำเส้นชีวิตสายสำคัญของกรุงเทพฯ และของประเทศไทย  เมื่อพิจารณาในความมั่นคงแข็งแรงแล้ว พระปรางค์มีระยะห่างจากตลิ่งเพียง ๙๐.๕๐ เมตร  อีกทั้งองค์พระปรางค์ก็มีขนาดสูงใหญ่  มีปริมาตรทึบ  น้ำหนักมากตั้งอยู่บนดินอ่อนของตลิ่งในส่วนที่เป็นท้องคุ้งและมีกระแสน้ำเซาะอยู่ชั่วนาตาปี  แต่องค์พระปรางค์มีความแข็งแรงมั่นคงมาเกือบ ๒๐๐ ปีเช่นนี้  ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของบรมครูช่างไทยในอดีต         

                                             

      ทั้งความคิดในการออกแบบสร้างสรรค์  และฝีมือในการก่อสร้าง  บางส่วนของพระปรางค์เป็นชั้น ๆ ลดหลั่นจากฐานเท้าสิงห์ขนาดใหญ่ขึ้นไปหาเท้าสิงห์ขนาดเล็ก  ก่อให้เกิดทรวดทรงอันเรียวระหงให้ความรู้สึกที่เบาและลอย  นอกจากส่วนปรางค์ประธานแล้ว  ยังมีปรางค์บริวาร  ๔ องค์  เป็นปรางค์ทิศทำให้เกิดความงามอันสมบูรณ์แบบ  ตามคติไตรภูมิ  โดยสมมุติให้

ปรางค์องค์ประธาน         เป็น     เขาพระสุเมรุ

ปรางค์ทิศทั้งสี่              เป็น     ทวีปทั้งสี่

แม่น้ำเจ้าพระยา             เป็น     มหาสีทันดร

     หรือถ้าเปรียบเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ  อาจหมายถึง  ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กล่าวคือ

    องค์ปรางค์   เป็นสถาปัตยกรรมไทย หมายถึง  ชาติ

     องค์ปรางค์   ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นอุเทนสิกเจดีย์ หมายถึง ศาสนา

     องค์ปรางค์   อัญเชิญพระมหามงกุฎไว้บนยอด หมายถึง พระมหากษัตริย์

     ผิวของพระปรางค์ก็ประดับตกแต่งด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบหลากสี  เล็กใหญ่กลมกลืนกันอย่างประณีต  บางส่วนใช้ของโบราณ เช่น ชามเบญจรงค์ที่เป็นของเก่า