วันมหาเจษฎาบดินทร์ 31 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ถือเป็นวันสำคัญของชาติเพื่อประกอบงานรัฐพิธีถวายราช สักการะ โดยมิต้องถือเป็นวันหยุด ราชการ และเห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า ” แปลว่า “ พระเจ้า แผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ” พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พระนามเดิมว่า “ หม่อมเจ้าชายทับ ” เป็น พระราชโอรสลำดับองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2330 ณ พระราชวังเดิมธนบุรี เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตน์โกสินทร์ พระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ” ซึ่งมาจากคำว่า " ทับ " ซึ่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงประทับอยู่เหนือหัวของประชาชนชาวไทยทุกคน นั่นเอง ตลอดระยะเวลาที่ รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์สมบัติ สิริรวมประมาณ 27 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394 พระองค์ทรงปกครองประเทศโดยทำนุบำรุงให้ชาติเข้มแข็งรุ่งเรือง ได้ทรงดำรงพระบรมราชวงศ์ จักรีซึ่งเพิ่งสถาปนาขึ้นใหม่ให้มั่นคง โดยทรงมีส่วนร่วมกับขุนนางในการบริหารราชการก่อนที่จะเสด็จขึ้นเสวย ราชสมบัติ และได้ทรงควบคุมกิจการบ้านเมืองด้วยพระองค์เองมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงเลือก เฟ้นแต่งตั้งเสนาบดีที่มีความสามารถให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณตามอำนาจ หน้าที่ พระองค์ได้ดำเนินนโยบายภายในประเทศอย่างเข้มแข็งและเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง ได้ทรงเพิ่มพูนรายได้ของประเทศชาติอย่างหลากหลาย วิธี เช่น แต่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเก็บภาษีอากรจากรูปของสินค้าและแรงงานเป็นการชำระ ด้วยเงินตรา ที่สำคัญคือมีการเก็บภาษีตั้งขึ้นใหม่ถึง ๓๘ อย่าง เพื่อมิให้บังเกิดความขาดแคลนเหมือนเมื่อครั้งรัชกาลก่อน ทั้งยังได้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ สร้างกองทัพเรือ ขุดคูคลอง สร้างป้อมปราการเพื่อรักษาปากน้ำจุดสำคัญๆ ในขณะเดียวกันก็ทำนุบำรุงประเทศพร้อมกันไปด้วย ในด้านของการศาสนา ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ พระศาสนาตลอดรัชสมัยเป็นเอนกอนันต์ เช่น ทรงบูรณะและปฏิสังขรณ์ วัดต่างๆ อีกทั้งยังทรงสร้างพระปรางค์และพระเจดีย์มากมาย อาทิ พระปรางค์วัด อรุณราชวราราม โลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม วัดเทพธิดาราม ฯลฯ ส่วนในด้านการศึกษา นั้นที่โดดเด่นคือ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ที่จารึกไว้ทั้งวิชาอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสตร์ และโบราณคดี พร้อมเขียนภาพประกอบไว้บนฝาผนัง ทำให้ประชาชนสามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างละเอียดลึกซึ้งและแพร่หลาย จนกล่าวกันว่าเป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย และจากการที่คณะบาทหลวงและมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนา พร้อมกับวิชาการ ใหม่แบบตะวันตก ยังส่งผลให้เกิดการศึกษาระบบโรงเรียนในสมัยรัชกาลที่ 4 และ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือ “ หมอบรัดเลย์ ” ที่สร้างผลงานต่างๆไว้มากมาย อาทิ ก่อตั้งโรงพิมพ์ที่สำเหร่พิมพ์หนังสือไทยอย่างตำราแพทย์แผนปัจจุบัน ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษให้คนไทย นำควินินซัลเฟต ยาสลบ รวมถึงได้สอนการผ่าตัดแบบแผนปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ การต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่ง วิชาแยกธาตุเพื่อใช้ในการทำเหรียญกษาปณ์ วิชาการแพทย์แก่พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ นอกจากนั้นในรัชกาลนี้ยังมีกวีที่สำคัญๆอีกหลายท่าน เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ ฯลฯ ดังนั้นฐานะของประชาชนพลเมือง เมื่อเปรียบเทียบกับชนชาวเอเชียอื่นๆ แล้ว จึงนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ในสมัยพระองค์ท่าน อิทธิพลของประเทศสยาม ที่มีต่อบรรดาเมืองขึ้นได้แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง มีการกวดขันการควบคุมเมืองขึ้นด้านมลายูให้รัดกุมยิ่งขึ้น อีกทั้งได้ผนวกดินแดนหลายแห่งเข้ามาอยู่ในพระราชอาณาเขต พร้อมขยายอำนาจการปกครองไปทางเหนือและหัวเมืองลาวด้านตะวันออก รวมทั้งได้เขมรกลับคืนมาด้วย และภายหลังการคุมคามจากพม่าได้หมดสิ้นไปแล้วเนื่องจากพม่าถูกอังกฤษรุกราน แต่กระนั้นเรากลับต้องเผชิญกับการคุกคามอันรุนแรงจากชาวตะวันตกแทน ซึ่งพระองค์ท่านก็สามารถแก้ไขโดยยอมเซ็นหนังสือสัญญาหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี่กับอังกฤษ สนธิสัญญากับอเมริกา เป็นต้น เพื่อธำรงรักษาฐานะทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของไทยเอาไว้ ในขณะเดียวกัน พระองค์ท่านก็มีนโยบายบางประการเพื่อป้องกันไม่ให้ชาวตะวันตกรุกรานและหลั่ง ไหลเข้ามาสู่ประเทศ และยังมีพระราชกระแสก่อนสวรรคตที่แสดงถึงพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ พระองค์เกี่ยวกับชาวตะวันตกว่า “ การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่พวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว ” เมื่อพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ในปี พ.ศ. 2394 นั้น ประเทศอยู่ในสภาพมั่นคงสมบูรณ์ รัฐบาลเป็นปึกแผ่นยิ่งกว่าตอนที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชอาณาเขตขยายออกไปกว้างขวางกว่าเดิม เขตแดนทั้งทางบกทางน้ำมีความปลอดภัยยิ่งกว่าครั้งใดๆ ด้านเศรษฐกิจของประเทศก็มีเสถียรภาพยิ่ง สามารถนำเงินไปใช้ในการทะนุบำรุง ประเทศ การป้องกันประเทศ การศาสนา และด้านอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งยังมีเงินที่เหลือบางส่วนเก็บใส่ “ ถุงแดง ” เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ด้วยพระราชกรณียกิจ อันน้อยใหญ่ที่ล้วนมีคุณต่อแผ่นดินและประชาชนชาวไทย ดังนั้น เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ได้เวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการนำเอาความรู้ ความสามารถ ผนวกกับความสามัคคีของคนในชาติ มาช่วยเหลือ ประเทศให้ผ่านพ้นภาวะวิกฤต ทั้งในด้านสงครามเศรษฐกิจ และความเสื่อมโทรมถดถอยทางสังคม โดยเฉพาะช่วยกันธำรงรักษาความเป็นไทยให้พ้นจากการถูกครอบงำผ่านความเจริญทาง เทคโนโลยี เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงและมั่งคั่ง ได้อย่างสง่างามดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
บทความโดย เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์
ประชาชนชาวไทยและรัฐบาลจึงพร้อมใจกันประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์ ณ ลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์หน้าวัดราชนัดดาราม ในปี พ.ศ. 2541 ทางราชการได้มีการถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ใช้ชื่อวันงานใหม่ว่า "วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" |
ตำนานเงินถุงแดง เงินนี้ไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง รายพระนามสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ |